messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมห้วยผึ้ง call ข้อมูลการติดต่อ

องค์การบริหารส่วนตำบล
นิคมห้วยผึ้ง
อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธ์ุ

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์
info ภารกิจและหน้าที่ส่วนงาน
สำนักงานปลัด
สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับเอกสาร สารการจัดทำแผนพัฒนาสามปี การจัดทำร่างข้อบัญญัติ การจัดทำทะเบียนสมาชิกสภา อบต. และคณะผู้บริหาร การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การให้คำปรึกษาหน้าที่และความรับผิดชอบการปกครองบังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง การบริหารงานบุคคลของ อบต. ทั้งหมด การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตต่าง ๆ และการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม เกี่ยวกับการสังคมเคราะห์ การส่งเสริมการเกษตร การอนุรักษ์แหล่งน้ำ และป่าไม้ การให้คำปรึกษาแนะนำและตรวจสอบเกี่ยวกับงานสวัสดิการสังคมและ ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 5 งาน คือ งานบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ - งานสารบรรณ - งานอำนวยการและข้อมูลข่าวสาร - งานบริหารงานบุคคล - งานเลือกตั้ง - งานตรวจสอบภายใน - งานระเบียบข้อบังคับการประชุม - งานการประชุม - งานอำนวยการและประสานราชการ - งานติดตามผลการปฏิบัติ - งานตามมติสภาองค์การบริหารส่วนตำบล - งานเลือกตั้ง - งานข้อมูลการเลือกตั้ง - งานชุมชนสัมพันธ์ - งานรักษาความสงบเรียบร้อย - งานสนับสนุนและบริการ - งานอำนวยการ - งานป้องกัน - งานช่วยเหลือฟื้นฟู - งานกู้ภัย งานนโยบายและแผน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ - งานนโยบายและแผนพัฒนา - งานวิชาการ - งานข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ - งานสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ - งานงบประมาณ งานกฎหมายและคดี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ - งานกฎหมายและนิติกรรม - งานการดำเนินทางคดีและศาลปกครอง - งานร้องเรียนร้องทุกข์และอุทธรณ์ - งานระเบียบการคลัง - งานข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนสวัสดิการสังคม งานสวัสดิการและพัฒนาชุมชน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานสวัสดิการสังคม งานพัฒนาชุมชน งานจัดระเบียบชุมชนงานสังคมสงเคราะห์งานพิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี งานส่งเสริมอาชีพและข้อมูลแรงงาน งานพัฒนาสตรีและเยาวชน งานสนับสนุนกิจกรรมของเด็กและคนชรา เอกสารแนบการขอรับเบี้ยยังชีพ (ผู้สูงอายุ) ดังนี้ กรณีขอเพิ่มใหม่ - แบบหนังสือขอรับความช่วยเหลือให้ประชาชน - แบบสอบประวัติเบื้องต้นผู้ได้รับความเดือดร้อน - หนังสือศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน - ผลการประชุมคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรฯ - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอ - สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ - สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร กรณีแทนผู้ขาดคุณสมบัติ - แบบหนังสือขอรับความช่วยเหลือให้ประชาชน - แบบสอบประวัติเบื้องต้นผู้ได้รับความเดือดร้อน - หนังสือศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน - ผลการประชุมคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรฯ - ลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรฯ - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอ - สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ - สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร - สำเนา ใบมรณบัตรผู้ขาดคุณสมบัติ (กรณีเสียชีวิต)/ สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ขาดคุณสมบัติ (กรณีย้ายที่อยู่) เอกสารแนบการขอรับเบี้ยยังชีพ (ผู้พิการ) ดังนี้ กรณีขอเพิ่มใหม่ - แบบหนังสือขอรับความช่วยเหลือให้ประชาชน - แบบสอบประวัติเบื้องต้นผู้ได้รับความเดือดร้อน - หนังสือศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน - ผลการประชุมคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรฯ - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอ - สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ - สำเนาสมุดพกคนพิการ - สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร - รูปถ่ายเต็มตัว กรณีแทนผู้ขาดคุณสมบัติ - แบบหนังสือขอรับความช่วยเหลือให้ประชาชน - แบบสอบประวัติเบื้องต้นผู้ได้รับความเดือดร้อน - หนังสือศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน - ผลการประชุมคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรฯ - ลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรฯ - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอ - สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ - สำเนาสมุดพกคนพิการ - สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร - สำเนา ใบมรณบัตรผู้ขาดคุณสมบัติ (กรณีเสียชีวิต)/ สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ขาดคุณสมบัติ (กรณีย้ายที่อยู่) เกร็ดชวนรู้ "ผู้สูงอายุ" หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย (เบี้ยยังชีพคนละ 500 บาท/เดือน) "คนพิการ" หมายความว่า คนพิการที่จดทะเบียนคนพิการตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 (เบี้ยยังชีพคนละ 500 บาท/ เดือน) "ผู้ป่วยเอดส์" หมายความว่า ผู้ป่วยเอดส์ที่แพทย์ได้รับรองและทำการวินิจฉัยแล้ว (เบี้ยยังชีพคนละ 500 บาท/ เดือน) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ 1. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ อบต. 2. มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือถูกทอดทิ้ง หรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ 3. ในกรณีที่ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยเอดส์ มีคุณสมบัติเบื้องต้นเหมือนกัน ให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากกว่าหรือผู้มีปัญหาซ้ำซ้อน หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ยากต่อการเข้าถึงบริการของรัฐ เป็นผู้ได้รับการพิจารณาก่อน ส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมและปฏิบัติงานให้บริการสาธารณสุขและงานสาธารณสุขอื่น งานศูนย์บริการสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและบำบัดโรค การสุขาภิบาล การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การควบคุมบำบัดน้ำเสีย การดูแลรักษา สวนสาธารณะ ป้องกันและบำบัดยาเสพติด งานทันตสาธารณสุข เภสัชกรรม การบริการส่งเสริมอนามัย งานสถานพักฟื้น งานเวชกรรมสังคม และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง งานอนามัยและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รับผิดชอบ - งานรักษาความสะอาด - งานกำจัดขยะและน้ำเสีย - งานควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม งานส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข มีหน้าที่รับผิดชอบ - งานอนามัยชุมชน - งานส่งเสริมและเผยแพร่ - งานป้องกันยาเสพติด
ส่วนโยธา
ส่วนโยธา มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจออกแบบและจัดทำโครงการใช้จ่ายเงินของ อบต. การอนุมัติเพื่อดำเนินการตาม โครงการที่ตั้งจ่ายจากเงินรายได้ของ อบต. งานบำรุงรักษา ซ่อมแซม และจัดทำทะเบียนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. การให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการและการออกแบบก่อสร้างแก่ อบต. และหน่วงงานอื่นที่เกี่ยงข้อง งานควบคุมอาคาร การดูแลควบคุมปรึกษาซ่อมแซมวัสดุครุภัณฑ์และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและงานที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งาน คือ งานก่อสร้าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ - งานก่อสร้างและบูรณะถนน - งานก่อสร้างและบูรณะสภาพและโครงการพิเศษ - งานระบบข้อมูลและแผนที่เส้นทางคมนาคม - งานบำรุงรักษาเครื่องจักรและยานพาหนะ งานออกแบบและควบคุมอาคาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ - งานสถาปัตยกรรมและมัณฑศิลป์ - งานวิศวกรรม - งานประเมินราคา - งานควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฝ่ายบริการข้อมูลและหลักเกณฑ์ - งานออกแบบ งานประสานและสาธารณูปโภค มีหน้าที่ความรับผิดชอบ - งานประสานและสาธารณูปโภคและกิจการประปา - งานขนส่งและวิศวกรรมจราจร - งานระบายน้ำ - งานจัดตกแต่งสถานที่ งานผังเมือง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ - งานสำรวจและแผนที่ - งานวางผังพัฒนาเมือง
การคลัง
ส่วนการคลัง มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและทะเบียนรับ – จ่ายเงินงบประเภท งานเกี่ยวกับการเงิน การเบิกจ่ายเงินการ เก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจเงิน อบต. รวบรวมสถิติ เงินได้ประเภทต่าง ๆ การเบิกตัดปี การขยายเวลาเบิก จ่ายงบประมาณ การหักภาษี และนำส่ง รายการเงินคงเหลือประจำ การรับและจ่ายขาดเงินสะสมของ อบต. การยืมเงินทดรอง ราชการ การจัดหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน ตรวจสอบงานของจังหวัดและสำนักงานตรวจ เงินแผ่นดิน การเร่งรัดใบสำคัญและใบเงินยืมค้างชำระ การจัดเก็บภาษี การประเมินภาษี การเร่งรัดจัดเก็บรายได้ การพัฒนารายได้ การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งาน คือ งานการเงิน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ - งานรับเงิน - เบิกจ่ายเงิน - งานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน - งานเก็บรักษาเงิน งานบัญชี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ - งานการบัญชี - งานทะเบียนคุมการเบิกจ่าย - งานงบการเงินและงบทดลอง - งานงบแสดงฐานะทางการเงิน งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ - งานภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและค่าเช่า - งานพัฒนารายได้ - งานควบคุมกิจการค้าและค่าปรับ - งานทะเบียนเบิกควบคุมและเร่งรัดรายได้ งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ - งานทะเบียนทรัพย์สินและแผนที่ภาษี - งานพัสดุ - งานทะเบียนเบิกจ่ายวัสดุครุภัณฑ์และยานพาหนะ